พี่นัน
นันทวัชร์ ชัยมโนนาถ
ผู้อำนวยการสอนติวสถาปัตย์ สถาบัน A Le Paint - เอเลอเพนท์
ผู้เขียนหนังสือติวความถนัดสถาปัตย์ เล่มดำและอื่นๆ
เข้าศึกษาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2542
นันทวัชร์ ชัยมโนนาถ
ผู้อำนวยการสอนติวสถาปัตย์ สถาบัน A Le Paint - เอเลอเพนท์
ผู้เขียนหนังสือติวความถนัดสถาปัตย์ เล่มดำและอื่นๆ
เข้าศึกษาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2542
ถาม : อยากทราบประวัติส่วนตัวของพี่หน่อยค่ะ
เรียนจบที่ไหนเหรอคะ
ตอบ :
ประวัติส่วนตัวของพี่
เอาตั้งแต่มัธยมเลยละกันครับ จริงๆแล้วมันเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วง ม.3 ครับ พี่เริ่มกำลังมองตัวเองแล้วล่ะว่าตกลงแล้ว
วันข้างหน้าเราจะเลือกสอบอะไร แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรมาก
ตอนนั้นมีพี่ชายห่างจากพี่ปีเดียว ซึ่งตัวเค้าเองอยู่ ม.4 แล้วก็คงกำลังค้นหาตัวเองอยู่เหมือนกัน
วันนั้นจำได้ว่ากลับจากโรงเรียนมาแล้วพอดีมาเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่วางอยู่ในบ้าน
ก็หยิบขึ้นมา มองดูหน้าปกหนังสือ เขียนว่า “เฉลยข้อสอบความถนัดทางสถาปัตยกรรม”
ตอนนั้นยังมีคำถามขึ้นมาทันทีเลยว่า มันต้องมีด้วยเหรอ ความถนัดอะไรประมาณนี้
เปิดเล่มมาแล้วก็มาเห็นภาพเต็มไปหมด
น่าสนุกดีเหมือนกัน ก็เลยลองทำดู ทำไปทำมา ก็เหมือนเด็กทั่วไป มีถูกบ้างผิดบ้าง
แต่มีความรู้สึกว่ามันสนุกมาก แบบว่าข้อที่ผิด
ดูเฉลยแล้วก็มีความรู้สึกสนุกว่าได้รู้อะไรใหม่ๆ ตอนนั้นมันเป็นความท้าทายแรก
เหมือนเป็นความประทับใจแรกพบ และก็มีความรู้สึกว่า เป็นอะไรที่น่าสนใจดีเหมือนกัน
แต่ก็นั่นล่ะครับ ก็ยังไม่ได้รู้อะไรมากกว่านั้นหรอก ว่าสถาปัตยกรรมคืออะไร
นอกจากความคิดตื้นๆว่ามันคือการออกแบบบ้าน ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
จากนั้นก็เริ่มลองมาเรียนแบบว่าที่เค้าติวๆกันหน่อย
เพราะว่าอยากรู้ลึกลงไปกว่านั้นว่าเค้าเรียนอะไรกัน
จริงๆแล้วต้องบอกก่อนว่าเริ่มเรียนค่อนข้างเร็วเหมือนกัน เพราะเริ่มตั้งแต่ ม3
แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรขนาดนั้นนะ เรียนเล่นๆน่ะ เผื่อว่าจะเจอ
เพราะในความรู้สึกของพี่แล้ว ครอบครัวพี่ทุกคนประกอบธุรกิจกันหมด และเป็นครอบครัวที่ต้องการให้ลูกๆเรียนเกี่ยวกับบัญชีการบริหาร
ทุกๆวันจะถูกปลูกฝังมาอย่างสม่ำเสมอว่า ถ้ามีคนถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร
ต้องตอบว่า “อยากเป็นนักธุรกิจ” เป็นรูปแบบทีต้องตอบทุกคน
การเรียนที่ตัดสินใจว่าจะเข้าคณะสถาปัตยกรรมนั้น
มันเรียนแล้วชอบจนมันฝังรากโดยที่เราไม่รู้ตัวเหมือนกัน แต่ตอนนั้นยอมรับเลยว่า
เป็นเเหมือนนกสองหัว คือ มีความรู้สึกว่าอยากเข้าเศรษฐศาสตร์มาก เพราะว่าเป็นวิชา1
บทในสังคมที่เรียนแล้วขอบมาก ชอบจนต้องไปหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเอง
ตอนนั้นจำได้ว่ามีหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มากกว่าหนังสือสถาปัตย์ในบ้านซะอีก
แล้วถ้าเกิดว่าใครถามตอนนั้นว่าจะเข้าอะไร
ก็ยังไม่สามารถตอบได้เต็มปากด้วยซ้ำว่าจะเข้าคณะไหนกันแน่
แต่การที่เราบอกไปอย่างนั้นๆไม่ใช่ว่าเราไม่เต็มที่นะ
หลายคนอาจจะคิดว่าถ้าเกิดว่าเป็นคนที่ชอบแบบว่าทั้งคู่อย่างนี้มักจะไปไม่ได้ดี อันนี้เราเองก็ยอมรับครับ
เพียงแต่ว่าเราเต็มที่ไง เราคิดว่ายังไงซะ เราอยากจะเข้าให้ได้ทั้งคู่เลย ประมาณว่ารักพี่เสียดายน้อง
และจริงๆแล้ว
พี่ว่าพี่โชคดีอย่างหนึ่งนะ โดยในความรู้สึกของพี่แล้ว ความเป็นเศรษฐศาสตร์มันเป็นศาสตร์ที่เราต้องมาว่ากันเรื่องความต้องการ
การเกิดขึ้นโดยปัจจัยต่างๆที่เราต้องเอามาสร้างเป็นหลักการ เพื่อที่จะต้องตอบได้ว่าที่มาที่ไปในการเกิดสิ่งเหล่านั้นๆ
มันเกิดได้ยังไง ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้ว มันก็ตรงกับความเป็นสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือศาสตร์ในการออกแบบเหมือนกัน
เพราะทุกอย่างที่เราออกแบบนั้น เราไม่ได้สักแต่ว่าออกแบบ แต่ทุกอย่าง ทุกความสวยงามนั้น
เราต้องสามารถหาเหตุผลไปกับมันได้ด้วย ต้องตอบได้ว่าที่มาที่ไปของสิ่งที่เราออกแบบนั้นมันคืออะไร
และนี่แหละที่พี่หลงเสน่ห์ของสิ่งนี้ เพราะสำหรับพี่แล้ว พี่ว่าทุกอย่างบนโลกนี้ เราต้องพยายามตอบมันให้ได้
ทีนี้พอสอบก็ได้ 2 ที่คือ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม ที่ลาดกระบัง และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์
(ภาคอินเตอร์)
และหลังจากนั้นก็ถึงจุดที่ยากที่สุดในการตัดสินใจแล้ว
นั่นคือ การเลือกคณะที่เราต้องอยู่ ซึ่งตอนนั้นเชื่อมั้ยว่าหลังจากที่ได้ไปเดินอยู่ 2 ที่ๆจะเข้าเรียน
เราตอบได้เลยว่า เราเลือกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ลาดกระบัง ไม่ใช่เพราะว่าดีกว่าหรือว่าอะไรนะ
แต่ความรู้สึกของพี่ตอนนั้นมันรู้สึกเลยว่า ที่นี่มันใช่เลย พอเดินๆแล้วมันโล่ง มันรู้สึกถึงความเท่ห์
อะไรประมาณนั้น และอีกอย่างด้วยล่ะ มีความรู้สึกว่า เศรษฐศาสตร์ พอเอาเข้าจริงๆ มันอาจจะไม่ได้มีสายงานรองรับคนอย่างพี่มากนัก
และความท้าทายของพี่มันดันไปรู้สึกกับการสร้างสิ่งที่มันมองเห็นแบบเป็นรูปธรรมมากกว่า
ก็เลยตัดสินใจเลือกเรียนสถาปัตย์ได้อย่างไม่ยากครับ
ถาม : แล้วพี่เรียนจบโทที่ไหนเหรอคะ
ตอบ
ช่วงที่เรียนจบปริญญาตรีนั้น
ช่วงนั้นกำลังวุ่นอยู่กับการเรียนต่อเนื่องในส่วนของปริญญาอีกใบ
แต่คราวนี้เป็นในส่วนการเรียนสาขาวิชามัลติมีเดีย อาร์ท ของ เอส
เอ อี อินเตอร์เนชั่นนอล แต่ก็ยังไม่ใช่ปริญญาโทครับ ช่วงที่คิดว่าจะเรียนปริญญาโทมาจากการที่
พอเราเริ่มเป็นสถาปนิกที่ทำทั้งงานออกแบบและงาน Presentation แบบ
3D แล้ว ส่วนที่พี่คิดว่าพี่ยังขาดตอนนั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า “ความเข้าใจในโครงการ”
แน่นอนครับว่า
สถาปนิกทุกคนที่จบและออกมาทำงานนั้น ย่อมต้องมีความเข้าใจในการออกแบบ
ในการวิเคราะห์โครงการอยู่แล้ว เพียงแต่สิ่งที่พี่มีความรู้สึกว่ามันขาดไปมีที่มาที่ไปมาจากการที่พี่ได้เข้าทำงานเป็นสถาปนิกอยู่ในบริษัทแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นบริษัทที่ส่วนใหญ่แล้ว รับงานประเภทอาคารที่อยู่อาศัยรวม
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “คอนโด”
ช่วงนั้นจำได้ว่าเป็นช่วงที่คอยโดค่อนข้างบูมมากในประเทศไทย
น่าจะสืบเนื่องมาจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงชนิดรายวันเลยเนื่องจากวิกฤตการณ์ซับพรามจากทางฝั่งอเมริกา
ช่วงนั้นตลาดที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปเยอะ
จากที่คนทำงานทั่วไปฝันว่าอยากจะมีบ้านเดี่ยวซักหลัง พอราคาน้ำมันมันเพิ่ม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมันสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้คนหันเข้ามาในเมือง และการที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินเปล่าเพื่อสร้างบ้านเดี่ยวนั้น
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทุกคนก็เลยพุ่งเป้าไปที่คอนโด ตอนนั้นเรียกได้ว่าตื่นเช้ามาเพื่อที่จะเข้ามาทำแต่คอนโดเลย
อยู่ออฟฟิตยันเช้าตลอด งานหนักมาก แต่ก็เป็นอีกช่วงเวลาที่มีความสุขมากเหมือนกัน
คราวนี้พอทำไปเรื่อยๆ
ได้มีโอกาสคุยกับเจ้าของโครงการต่างๆ เลยมีความรู้สึกว่า
ถ้าเกิดว่าเราจะเป็นนักออกแบบที่ดีนั้น สิ่งที่เรียกว่า “เจ้าเค้าใจเรา”
สำคัญมาก ไม่ใช่แต่ว่าเราต้องออกแบบมาให้ดีที่สุด ให้สวยที่สุดเท่านั้น
แต่ทำยังไงเราถึงจะเข้าใจความรู้สึกของเจ้าของโครงการ เข้าใจกลไกการตลอดของธุรกิจนี้จริงๆ
เพราะการเข้าใจจะทำให้เราสามารถเป็นทั้งนักออกแบบและที่ปรึกษาของโครงการไปในตัวด้วย
การใช้แค่เพียงความรู้สึกว่าทำอย่างนั้นดี
อย่างนี้ดีนั้น มันก็โอเคในการทำงานออกแบบเบื้องต้น แต่อย่างว่าล่ะครับ
การที่เราพูดอะไรออกไปแล้วเราสามารถมีข้อมูลมารองรับได้ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า พี่เลยเลือกที่จะเดินหน้าเข้าเรียนต่อปริญญาโท
ไม่ใช่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่เป็นคณะบัญชีครับ โดยสาขาวิชาที่เลือกที่แน่นอน บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ถาม : แล้วหลังจากที่พี่เรียนจบมา
ตอนนี้ลักษณะการทำงานของพี่เป็นยังไงเหรอคะ
ตอบ
จริงๆมันมีเรื่องราวมากมายในช่วงที่เรียนน่ะครับ
คือ พี่ค่อนข้างจะต่างออกไปจากเด็กที่เรียนแบบว่า เรียนอย่างเดียว
พอเรียนจบแล้วก็มาเริ่มต้นการทำงานอะไรแบบนี้ ลักษณะการใช้ชีวิตของพี่จะประมาณว่า
พี่จะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ซึ่งช่วงเวลาที่พี่เรียนอยู่ที่มหาลัยนั้น
เวลาส่วนใหญ่ของพี่ช่วงที่เลิกเรียน พี่ก็จะออกไปทำงานข้างนอกน่ะครับ
แบบว่าเป็นคนที่ชอบทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย พลังเหลือมากเวลานั้น
แต่งานที่พี่ทำมันก็มีทั้งเกี่ยวเนื่องและไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสตร์ที่เรียนมา
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การคิดอะไรใหม่ๆทั้งนั้น
ซึ่งการทำงานข้างนอกที่เป็นงานจริงๆนั้น
มันสอนอะไรเราได้หลายอย่าง แล้วสำหรับพี่ สิ่งที่เราเรียกกันติดปากว่า “Connection”
นั้น มาจากสิ่งเหล่านี้ทั้งนั้น กลายเป็นว่า ช่วงนั้นพี่เข้าไปทำงานที่หลายบริษัทและได้เข้าไปรู้จักกับพี่ในวงการหลายคน
โดยเค้าก็หยิบยื่นโอกาสให้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ การเขียนหนังสือ
การทำงานหลายอย่างนั้นมันทำให้
เวลาที่เราเรียนจบมานั้น เราจะสามารถรู้ได้เลยว่าจริงๆแล้ว เราชอบอะไรไม่ชอบอะไร
แล้วเราขาดทักษะทางด้านไหนที่ต้องเพิ่มเติมเอาไว้เพื่อที่จะทำศักยภาพในการทำงานของเราดีขึ้น
และช่วงเวลาที่เรียนปริญญาโทอยู่นั้น พี่ก็เจอกับเพื่อนต่างอาชีพเยอะเลย
ซึ่งนี่เป็นโอกาสที่หลายคนที่เป็นเจ้าของโครงการได้เห็นฝีมือการออกแบบของเรา
ส่วนเราเองก็ได้เรียนรู้แง่คิดต่างๆจากเค้า
มันเลยกลายมาสู่วิชาชีพที่พี่ทำงานอยู่ทุกวันนี้ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆด้วยกันครับ
คือ
1.สถาปนิก
-
ทำงานมาได้เป็นระยะเวลาหลายปี คราวนี้พี่ก็เลยรวมกับเพื่อนสนิทของพี่คือ
พี่เอกรัตน์ วริทรา มาเปิดบริษัทสถาปนิก ชื่อ คาเมล็อต เวิร์คส ครับ ก็เป็นบริษัทที่รับงานออกแบบ
แต่ว่าสามารถรับงานในส่วนที่ทำ “ความเป็นไปได้ของโครงการ”
มาด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนการเริ่มต้น
มันทำให้เราเอาสิ่งที่เราเรียนอยู่ปริญญาโทเอามาใช้แบบเต็มๆ
นอกจากเจ้าของโครงการจะออกแบบแล้ว เจ้าของโครงการยังสามารถมีส่วนที่เพิ่มเติมคือ
เราจะคิดทางเดินของโครงการในส่วนของการเงินและการตลาดให้ด้วย
ซึ่งก็มีทีมที่เป็นทางสายทั้งสองสายเข้ามาร่วมบริษัท เพื่อผนวกทุกอย่างเข้าด้วยกัน
ทำให้เราสามารถออกแบบได้อย่างมั่นใจว่า ต้นทุนเท่าไหร่
เจ้าของโครงการจะมีศักยภาพในการเดินต่อไปได้อย่างไร
ทุกอย่างมันมีเหตุผลเข้ามารองรับทั้งหมด
การเดินหน้าโครงการใหญ่ๆหลายโครงการเลยง่ายสำหรบัเจ้าของโครงการครับ คือ เราเข้าใจ
ทีมการตลาดของเราเป็นทีมที่มีประสบการณ์มาจากบริษัทโอกีวี่ และมันเดย์
พร้อมทั้งการตลาดร่วมกับการออกแบบไปด้วย แถมยังมีข้อมูลการเงินเข้ามารองรับอย่างชัดเจน
ทำให้ระบบเป็นไปอย่างที่พี่คิดและต้องการครับ คราวนี้ไม่ว่าจะออกแบบอะไร
มันทำให้เราอุ่นใจว่า
โครงการที่เราออกแบบนั้นจะใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จมากที่สุด
2.การสอนหนังสือ
-
ความรู้เป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับพี่ “ยิ่งให้ยิ่งได้”
ก็จะมีสอนติวความถนัดทางสถาปัตยกรรมไว้ใช้สำหรับการสอบเข้ามหาลัย รวมทั้งพื้นฐานการ
Presentation ต่างๆที่ใช้กับสถาปัตย์ ส่วนนี้ก็จะรวมไปถึงการเขียนหนังสือด้วยครับ
ถาม : พี่คิดว่างานที่พี่ทำมานั้น
มีงานรูปแบบหรือว่าชิ้นไหน ที่พอจะเป็นแง่มุมในการเรียนรู้ให้กับน้องๆสถาปนิกรุ่นใหม่ที่กำลังจะจบได้บ้างตะ
ตอบ :
อืม....งานที่มีแง่มุมที่เป็นประโยชน์เหรอ จริงๆแล้วงานทุกงานที่ทำ
มันมีประโยชน์ทั้งนั้นเลย อยู่ที่ว่าเราจะมองมันในแง่ไหน
ถ้าจะเอาให้มีประโยชน์กับรุ่นน้องที่เพิ่งเรียนจบและกำลังจะเข้าสู่กระบวนการทำงาน
สำหรับพี่แล้วน่าจะย้อนกลับมาดูก่อนว่า
อะไรที่เป็นอุปสรรคหรือจุดอ่อนสำหรับสถาปนิกรุ่นใหม่ๆเท่าที่พี่เห็นมา
และงานไหนที่จะให้แง่มุมเพื่อตอบโจทย์นั้น
ถ้าด้วยนิสัยของน้องๆรุ่นใหม่นั้น
พี่ว่าเก่งนะ หลายคนเก่งกว่ารุ่นก่อนๆที่เรียนจบมาซะอีก แต่สิ่งที่เท่าที่พี่เห็นผู้ใหญ่เค้าบ่นๆกันก็น่าจะเรื่องของความอดทน
ที่มันเริ่มน้อยลงไปทุกวัน คือ
อันที่จริงแล้วเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับรุ่นสู่รุ่นกันอยู่แล้ว
พี่จำได้ว่าตอนที่พี่เรียนจบใหม่ๆนั้น
พี่เองก็ได้ยินรุ่นพี่ที่อยู่บริษัทเค้าบ่นๆอยู่เหมือนกันว่า
เด็กยิ่งรุ่นใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ความอดทนก็เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ
ถามว่าสำหรับพี่นั้น
มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ส่วนตัวพี่ว่าเป็นเรื่องจริงครับ แต่ก็นั่นล่ะ
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมันเปลี่ยนไป
ความไวในการค้นหาข้อมูลมันต่างจากคนรุ่นก่อนมาก
มันทำให้การทำอะไรซักอย่างมันค่อนข้างรวดเร็ว จนเกิดความเคยชิน
และไม่พร้อมที่จะอดทนในการรอข้อมูลพร้อมทุกอย่างอยู่หน้าจอหมดแล้ว
ก็ย่อมที่จะมีพฤติกรมที่เปลี่ยนไป
แต่สิ่งที่มาทดแทนเลยคือ
ความสามารถในการสืบค้นข้อมูล ความไวในการทำงาน สำหรับพี่นะ พี่ว่าเรื่องความอดทนพี่พอเข้าใจ
แต่เรื่องที่พี่มีความรู้สึกว่าเป็นอุปสรรคอย่างจริงๆเลยคือ ความสนุกในการออกแบบ ความท้าทาย
เพราะด้วยเงื่อนไขต่างๆที่เข้ามา บางที เด็กรุ่นใหม่พี่เข้าใจนะครับว่ากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการพิสูจน์ตัวเองอยู่
อยากแสดงพลังออกมาแบบเต็มๆ ให้สมกับที่เรียนทางการออกแบบมา แต่บางทีพอข้อมูลมันมาเร็วเกินไป
เราอาจจะมีความละเอียดทางข้อมูล และยังไม่เข้าใจถึงส่วนอื่นๆมากนัก อาจจะทำให้งานออกมาเป็นเหมือนความฝันมากเกินไป
สิ่งนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ เพียงแต่ว่ามันอาจจะต้องอยู่ให้ถูกที่ถูกเวลาหน่อยครับ
พี่เองเคยเป็นอย่างนี้มาก่อนเหมือน
ทำเร็ว ต้องออกแบบให้ไว พร้อมทุกอย่าง ทำงานให้หนัก
เพื่อที่จะถึงจุดหมายโดยที่บางทีขาดความรอบคอบ
และการค้นข้อมูลที่รัดกุมอยู่เหมือนกันในช่วงสมัยที่ทำงานแรกๆ
จำได้ว่าได้รับมอบหมายให้ทำงานออกแบบ Resort แห่งหนึ่งที่เวียดนาม
ช่วงที่ได้งานนี้มาทำ
ก็แบบว่าจัดเต็มเลย เอาแบบสนุกตามแนวความคิดที่ต้องการ
เข้าใจว่าสิ่งที่เราเขียนนั้น เป็นสิ่งที่ใหม่แน่นอน ก็จัดซะเต็มที่เลย
พอออกแบบคร่าวๆเกือบเสร็จหมดแล้ว สวยมากตามความรู้สึกของพี่
แต่พอเอาเข้าที่ประชุมนั้น สิ่งที่เราไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น
จริงๆแล้วเป็นเรื่องง่ายๆเลยที่เราพลาดไป สิ่งที่พี่คิดเวลาออกแบบคือ กฎหมาย
ความคุ้มทุน แนวทางการออกแบบต้องชัดเจน ความสวยต้องตอบได้หมดว่าเพื่ออะไร
แต่สิ่งที่พี่ลืมคิดไปคืออะไรรู้มั้ยครับ คือ
วัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนในพื้นถิ่นที่อยู่ที่ประเทศนั้น ว่าเค้ามีพฤติกรรมยังไง
ซึ่งสิ่งนี้เป็นอะไรที่ลืมไป เพราะเราเข้าใจว่าสิ่งที่เราออกแบบ
ต้องตอบโจทย์ความเป็นสากล ใครมาใช้ก็ได้ เราเคยชินกับอะไรอย่างนั้น
ซึ่งเสน่ห์ที่แท้จริงของการออกแบบนั้น มันมีมากกว่านั้น
เราไม่ได้กำลังออกแบบสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่เรากำลังจะออกแบบชีวิตความเป็นอยู่ของทั้งพนักงานและทั้งแขกที่มาเพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศนั้นๆด้วย
ความผิดพลาดในครั้งนั้น
ทำให้พี่นึกย้อนมองถึงช่วงเวลาที่พี่เรียนอยู่ที่คณะเหมือนกันครับ มีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งท่านพูดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า
เมืองไทยนั้น เท่าที่แกพบเจอมาในแวดวงการออกแบบ แม้แต้สนามบินที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศเรายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมพื้นฐานเบื้องต้นของเราชาวไทยเลย
ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมของคนไทย เวลาที่มีญาติหรือว่าครอบครัวใหญ่ที่มาจากต่างจังหวัดนั้น
ภาพที่เรามักจะเห็นจนชินตาเลยคือ เค้าเหล่านั้นจะชอบรวมตัวกันนั่งกับพื้นกัน แบบว่านั่งล้อมวงคุยกัน
ซึ่งน่าสนใจเหมือนกันนะว่าทำไม นักออกแบบไม่ได้ใส่ใจกับอะไรตรงนี้เลย ถ้าเกิดว่าเราออกแบบให้มีพื้นที่ใช้งานที่มันตอบสนองต่อพฤติกรรมเหล่านี้เช่น
เราไม่ได้สร้างเก้าอี้ที่มีความสูง 40 เซนติเมตรเพียงอย่างเดียว เราลองสร้างให้มันสูงกว่านั้นหน่อย
ประมาณว่า 10กว่าเซ็น แล้วจากนั้นออกแบบให้มันโอบล้อมเป็นวงกลม
โดยที่เลยครึ่งวงกลมมาหน่อย เพื่อให้เปิดเดินเข้าออกได้ และเมื่อญาติเดินทางมาด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ก็สามารถนั่งล้อมกันได้
ภาพอะไรประมาณนั้น มันก็สามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรมที่ดูเป็นเอกลักษณ์ของเราชาวไทยได้อยู่ไม่น้อยเลย
ซึ่งถ้าเกิดว่าเป็นสมัยก่อน อาจจะไม่ผ่านเพราะว่าเป้าหมายของการออกแบบสถานที่นานาชาติคงต้องการให้มันดูเป็นหลักสากล
แต่นี่เราไม่ได้บอกว่าเราจะตัดมันออกไป เพียงแต่ว่าเราจะเพิ่มเสริมเข้าไปต่างหาก
แง่คิดเรื่องนี้ล่ะครับ
ที่พี่อยากให้น้องๆที่จบรุ่นใหม่ๆ ได้เข้าใจชีวิต เข้าใจคนที่เราจะออกแบบให้มากขึ้น
เพราะส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบัน เรามักจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลมากขึ้นทุกที
เสียงของคนอื่นมันอาจจะดูเบาลงกว่าที่มันเคยเป็นมา ดังนั้น
ศึกษาและพัฒนาความสามารถตรงนี้ให้มากๆครับ
อนาคตเมืองไทยเราจะได้มีนักออกแบบที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับคนที่เข้าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
ถาม : แล้วอะไรคืออุปสรรคในส่วนของการทำงานของพี่คะ
ตอบ :
อุปสรรคในการทำงานของเเหล่านักออกแบบในประเทศไทยนั้น
มันมีเยอะเลย เรื่องที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหายอดฮิตของเหล่าสถาปนิกอย่างเราๆเลยคือ
การที่ลูกค้าไม่เข้าใจถึงความยากง่ายของการออกแบบ
ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้นมักไม่ค่อยเกิดกับการที่เราไปรับโครงการขนาดใหญ่ แต่จะเกิดขึ้นกับโครงการขนาดเล็กและขนาดกลางน่ะครับ
เพราะส่วนใหญ่
ผู้ประกอบการที่เค้าลงมือลงทุนด้วยตัวเค้าเอง
ยิ่งถ้าเกิดว่าเค้าลงทุนเป็นเงินสดด้วยแล้ว ทุกเก็ด ต้องขอเรียกว่าทุกเม็ดเลยจริงๆ
รายละเอียดทุกอย่าง ถ้าเกิดว่าเค้าทำเองได้เค้าลงไปทำเองหมด แม้กระทั่วผสมปูนผสม่ทรายเค้าจัดเองแน่นอน
ซึ่งลูกค้าเหล่านี้เค้ามักจะคิดว่า แบบที่มีอยู่นั้น หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป
การที่เค้ามาจ้างเรานั้น เค้าคิดว่าแบบที่ออกมา เราทำง่ายจะตายไป
อย่างพี่เคยเรียกไปออกแบบศูนย์สรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
เจ้าของศูนย์ต้องการที่จะออกแบบแนวความคิดเข้าไปในศูนย์ของเค้าใหม่
แต่เค้าให้เราคิดแบบว่าเป็นจุดๆไป ไม่ได้คิดทั้งชั้น
โดยกินพื้นที่อยู่ไม่กี่ร้อยตารางเมตร ซึ่งมีอยู่คำพูดหนึ่งที่เค้าพดมาว่า
“งานแค่นี้ คืนเดียวก็เสร็จแล้ว
ไม่เห็นมีอะไรยากเลย”
ฟังเท่านั้น
เราเองก็อึ้งไปเลยเหมือนกัน แต่ว่ายังไง สำหรับพี่แล้วลูกค้าคือพระเจ้า
เราเป็นสถาปนิกมีหน้าที่สร้างสิ่งที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการของลูกค้า
เราไม่มีสิทธิไปว่ากล่าวอะไรมาก เพราะมันเป็นความเห็นส่วนตัวของเค้า
เพราะว่าเค้าคิดว่ามันน่าจะง่าย ก็คงจะเหมือนเราไปหาหมอน่ะ เคยมั้ย
เวลาที่เราไม่สบายไปหาหมอแล้วเข้าไปคุยกับหมอ บอกอาการ
แล้วหมอก็จัดการตรวจเล็กๆน้อยๆ จากนั้น เค้าก็จ่ายยาแก้หวัด พอเรารับใบเสร็จ
เจอว่า ค่ายาน่ะไม่เท่าไหร่ แต่ค่าตรวจ 600 บาท
ขนาดพี่เองยังเคยคิดเลยนะครับว่า เสียเวลาคิดเล็กน้อยเท่านั้น ได้เงิน 600 บาทละ อย่างนี้ไม่คุ้มเลย เราเองก็สามารถคิดได้ว่าเราควรจะกินยาอะไรก็ได้นี่นา
แต่พอเจอกับวิชาชีพของตัวเอง
มันก็เลยทำให้กลับมาคิดได้ครับว่า ความจริงแล้ว มันก็เป็นค่าวิชาชีพของเค้ามาน่ะนะ
เค้าต้องใช้เวลาในการเรียนเท่าไหร่ และการทำงานของเค้าที่มีอยู่ในทุกๆวัน
มันก็เป็นเสมือนกับค่าประสบการณ์ที่ทำให้เค้าเชี่ยวชาญและลดปัจจัยความเสี่ยงที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตยังไงเท่านั้นเอง
การที่เค้าใช้เวลาเยอะไม่ได้หมายความว่าเค้าไม่ใส่ใจ
เพียงแต่ว่าเค้ารู้วิธีการที่จะจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็วเท่านั้นเอง
มันก็เหมือนกับการออกแบบนั่นล่ะ
ถ้าเกิดว่าเราสามารถพยายามอธิบายให้ลูกค้าเราเข้าใจได้ว่าเรามีขั้นตอนในการออกแบบที่มันยากขนาดไหน
ทำให้เค้ารู้สึก เค้าก็จะรู้ว่าเรามีคุณค่าพอที่เค้าจะยอมจ่าย เพราะเราคิด เราทำงาน
พอเค้าเห็นแบบนั้น เค้าก็จะยอมจ่ายอย่างไม่บ่ายเบี่ยง และรู้สึกดีที่จะจ่าย สำหรับพี่แล้ว
คำว่า “ความรู้สึกดีที่จ่าย” นั้นสำคัญมาก เพราะนั่นหมายถึงความพึงพอใจในงานของเรา
ที่เค้ามีความรู้สึกว่าเค้าชอบมากๆ นี่แหละ คือการตอบโจทย์และอุปสรรคที่แท้จริงในการทำงานของพี่ในปัจจุบัน
ถาม : แล้วข้อคิดที่สำคัญที่พี่ใช้ในการทำงานคืออะไรคะ?
และการปฏิบัติตนต่อการทำงานอย่างไรคะ?
ตอบ :
สำหรับพี่แล้ว
สิ่งแรกที่พี่จะยกออกไปก่อนเลยคือเรื่อง “เงิน” คือพี่เคยทำงานเพื่อมัน แล้วผลที่ได้มันไม่ได้ตอบโจทย์ทางความรู้สึกของพี่เท่าไหร่น่ะครับ
ไม่ใช่ว่าพูดอย่างนี้แล้วเราจะไม่อยากได้เงินจากการออกแบบของลูกค้านะครับ เพราะพี่เองให้ความสำคัญในเรื่องของค่าตอบแทนทางการทำงานสูงมากครับ
การที่เราลดมันหรือเรียกค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเกินไปนั้น มันค่อนข้างจะกระทบต่อวงการในภาพรวมมากครับ
คล้ายกับเมื่อหลายปีก่อนที่มีข่าวว่ามีการรับออกแบบโลโก้สินค้าด้วยราคา 99 บาทน่ะครับ ข่าวนี้จำได้ว่าสะเทือนนักออแบบโลโก้ทั่วฟ้าเมืองไทยเลย
แต่พี่พยายามที่จะทำงาน
“เพื่องาน” และนี่คือข้อคิดที่พี่ใช้เสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้ครับ
พอยกเรื่องเงินออกไป เชื่อมั้ยว่าสิ่งที่กองอยู่ตรงหน้าคือความตั้งใจล้วนๆเลย ตั้งใจที่จะทำงานออกมาให้ได้ดีที่สุด
เพราะคิดเสมอว่า แม้ว่าจะไม่มีทางที่นักออกแบบคนหนึ่งจะสร้างงานที่เป็นที่ชื่นชอบกับคนได้
100 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเราก็ต้องทำงานให้ถึงตรงนั้นให้ได้ สถาปัตยกรรมนั้นมันไม่ใช่แค่งานเท่านั้น
แต่มันหามยถึงอนุสาวรีย์ที่อยู่คู่กับโลกนี้ไปอีกนานเลย มันคืออนุสาวรีย์แห่งประวัติศาสตร์น่ะ
และมันคืออนุสาวรีย์แห่งความทรงจำของคนที่เห็นมันทุกคนบนโลกนี้ แค่คิดเท่านี้เท่านั้นล่ะ
เราจะพยายามออกแบบเพื่อให้มันเกิดสิ่งที่ดีที่สุดอีกเป็นกองเลย
พี่มีความรู้สึกว่าการที่พี่ออกแบบเช่น
คอนโดซักที่นั้น มันยิ่งกว่าที่อยู่อาศัยอีก เพราะกี่ชีวิตที่ต้องตื่นมาแล้ว อยู่ภายใต้ความทรงจำที่เราสร้างขึ้นมา
เราไม่ได้ออกแบบอาคาร เรากำลังเข้าไปร่วมออกแบบความทรงจำที่เกิดขึ้นกับคนมากมาย ในวันที่เค้าสุข
สิ่งที่เราออกแบบก็จะอยู่คู่กับความมทรงจำของเค้าเช่นเดียวกับในวันที่เค้าทุกข์ คิดเท่านี้ล่ะ
อาชีพการออกแบบก็ดูน่าตื่นเต้นมากสำหรับพี่แล้ว
ทุกครั้งที่ได้
Project งานเข้ามาใหม่
ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กหรือว่าโครงการใหญ่
มันจะมาพร้อมกับความตื่นเต้นเสมอครับสำหรับพี่ ยิ่งโครงการใหญ่
เรายิ่งต้องรอบคอบมากขึ้นเท่านั้น
และการปฏิบัติตนต่ออาชีพการงานของเรานั้นสำคัญมากครับ เราต้องดูแลตัวเองให้มาก
ความมีวินัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างเช่นช่วงเวลาที่ต้องทำงานเยอะๆอย่างต่อเนื่อง
หรือว่าวันรุ่งขึ้นมีงานที่ต้องทำไม่ว่าจะช่วงเวลาไหน
การที่เราไปนั่งสังสรรค์จะต้องไม่เกิดขึ้น ดื่มไม่ได้ ถ้ามีงานรออยู่
เราต้องมีวินัย ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ก็ดื่มเล็กๆน้อยๆแล้วก็ทำงานต่อก็ได้นี่นา
แล้วพรุ่งนี้ก็ตื่นเช้าไปทำงานเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเสียหาย ใช่ครับ
สำหรับหลายคนอาจจะทำได้ เพียงแต่ว่าสำหรับพี่แล้ว
การที่เราดื่มช่วงเวลาที่เรามีงานอยู่นั้น นั่นคือการเสียเวลาแล้ว
แล้วถ้าเกิดว่าเราตื่นมาแล้วมีอาการเมาค้างหรืออาการปวดหัวอันเกิดจากการที่เราปฏิบัติตัวเองไม่ดี
ซึ่งส่งผลทำให้งานที่เราทำนั้น ทำออกมาไม่ได้เต็มที่ เพราะอย่าลืมครับว่า
ร่างกายนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนผลงานที่ออกมา ถ้าพี่ขาดความเคารพในงาน ก็เท่ากับพี่ขาดความเคารพต่อหน้าที่ๆเค้าเลี้ยงดูพี่มา
ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่แล้ว เราจะเรียกร้องอะไรจากงานที่เราทำได้ครับ
แล้วสุดท้ายก็มานั่งน้อยใจตัวเองว่า เรียนจบมาเป็นสถาปนิกนักออกแบบ แต่ความก้าวหน้าของตัวเองยังไม่ไปไหน
แล้วเที่ยวไปบอกใครต่อใครว่า เรียนอาชีพนี้มันเหนื่อย งานหนักและเงินน้อย อย่าเรียนเลยอะไรแบบนั้น
สำหรับพี่แล้ว
ถ้าเราซื่อสัตย์และทุ่มเทกับสิ่งที่เราทำนั้น เชื่อมั้ยครับว่าซักวัน การงานจะตอบแทนเรามาอย่างชนิดที่เราคาดไม่ถึงเลยว่าเรามาถึงจุดๆนี้ได้ยังไง
และนี่คือสิ่งที่พี่ยึดตลอดการประกอบวิชาชีพการทำงานครับ และก็อยากให้น้องๆยึดมันไว้เหมือนกัน
ถาม : พี่คิดเห็นอย่างไรกับ
Trend การออกแบบสมัยนี้รวมไปถึงอนาคตคะ?
ตอบ :
จริงๆแล้วแต่ละสมัยมันก็มี
Trend ของมันไปเรื่อยล่ะนะ ยุคสมัยก่อนก็จะแบบว่า อะไรๆก็ต้องเป็น Frank Lloyd Wright อะไรๆก็ต้องเข้าสู่บ้านน้ำตก จนถึงปัจจุบันที่อะไรๆก็ต้อง
Futuristic Architecture มาประมาณว่าต้อง Zaha มาก่อน จริงๆมันก็เป็นไปตามยุคสมัยน่ะนะ คือไม่ใช่แต่ที่ไทยเราจะได้รับอิทธิพลตรงนี้
พี่ว่ามันก็เป็นกันทั้งโลกนั่นแหละ
ทุกอย่างไม่ใช่ว่ามันเริ่มจากสถาปนิกเสมอไปนะ
บางทีมันก็เริ่มจากตัวลูกค้าเองด้วยเหมือนกัน ลูกค้าบางคนมาเปิดงานของเมืองนอก
แล้วมาชี้เลยบอกว่าต้องการเอาอย่างนี้เลย พี่เข้าใจนะ หรือไม่บางที Developer
รุ่นใหญ่เค้าไปเดินศูนย์การค้าที่ดูไบ แล้วกลับมาที่บ้านเรา
อยู่ดีๆก็ต้องการศูนย์สรรพสินค้าที่แบ่งเป็นเมืองตามชั้นตามโซนต่างๆ
แล้วยกตัวอย่างไอเดียที่มีอยู่แล้วมา มันเลยทำให้มุมมองทางเดินของการออกแบบของบ้านเรานั้น
มันก็เดินตามๆกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ก็มีพยายามเหมือนกันนะ
พยายามที่จะเอามนต์เสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเราเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความแตกต่างอยู่เหมือนกัน
แต่ดูเหมือนว่ามันจะยังไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น Central
Embassy ที่ถ้าเกิดว่าใครได้มีโอกาสเข้าไปภายในศูนย์สรรพสินค้านี้แล้ว
ก็ต้องเรียกเป็นเสียงเดียวเลยว่า Future ตาม Trend การออกแบบที่กำลังมาเลย
เพียงแต่ว่าถ้าเกิดว่าเราเดินเข้าไปข้างในจริงๆแล้ว
ลองลงไปชั้นล่างที่เป็นศูนย์อาหารดูครับ เราจะพบว่า
จริงๆแล้วทางศูนย์พยายามที่จะสร้างความแปลกใหม่หรือว่าความเป็นเอกลักษณ์ทางงานออกแบบอยู่เหมือนกันนะ
โดยที่ทางศูนย์พยายามที่จะเอาหลังคาสังกะสีมาออกแบบ
ส่วนร้านค้าที่เรียงรายกันอยู่นั้น
ก็พยายามที่จะทำให้เป็นเสมือนรถเข็นที่อยู่ข้างทาง
ประมาณว่าเอาความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยคือ ร้านอาหารเจ้าอร่อยที่อยู่ข้างทาง
เอาเข้ามาออกแบบให้อารมณ์ความรู้สึกเสมือนได้เดินข้างทางแล้วกินร้านชายที่เข็นของขายพวกนั้น
ซึ่งภาพโดยรวมนั้นทำออกมาได้ดีทีเดียว
ติดอยู่ที่ว่ามันค่อนข้างดูเฟคในความรู้สึกของประสบการณ์การใช้งานอยู่
มันเลยทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่
ซึ่งรสชาติอาหารก็เป็นส่วนประกอบที่สร้างความรู้สึกที่มันไม่ค่อยจริงขึ้นมาด้วย
สิ่งเหล่านี้เลยเป็นองค์ประกอบมันไปไม่ถึงดวงดาวได้เหมือนกัน
ส่วนตัวพี่ว่าการเดินทางที่คู่ขนานมากับความเป็น Futuristic เลยคือ ความเป็น Minimal น่ะ ซึ่งเจ้าพ่อศาสนาที่สร้างความรู้สึกนี้ขึ้นมาก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย
Johny Ive ซึ่งเป็นนักออแบบผลิตภัณฑ์ที่ทรงอิทธิพลของ Apple นั่นเอง คือด้วยความที่รับไม้ทางลัทธิต่อมาจาก Steve Jobs โดยตรงเลย ทำให้ความรู้สึกของความเรียบง่ายมันเดินทางเข้ามาอยู่ในทุกที่ๆคนเดินไปมา
ถ้าเป็นสมัยก่อนเราต้องรู้สึกแน่นอนว่าเจ้าพ่อที่ทำให้เราเห็นความเป็น
Modern ที่เรียบง่ายทางการออกแบบจริงๆก็น่าจะเป็น Ludwig
Mies Van Der Rohe ซึ่งเป็นสถาปนิกตัวพ่อที่ทรงอิทธิพลในวงการเป็นอย่างมาก
แต่ก็ด้วยมันแค่คนที่อยู่ในวงการเท่านั้นถึงรู้จักไง แล้ว Trend ของเค้ามันก็เริ่มเลือนลางไปเรื่อยๆ จนมาอยู่วันหนึ่ง อยู่ดีๆผู้กำกับที่ชื่อ
Christopher Nolan ก็หยิบเอาหนังไตรภาคที่ชื่อ Batman
เอามาใส่แรงบันดาลใจที่ฉาบด้วย ความเป็น Mies เข้ามาแบบเต็มๆ
ตั้งแต่ The Dark Knight ไปจนถึง The Dark Knight
Rise ตัวหนังเอาความเป็น Mies มาแบบเต็มๆตั้งแต่
Logo ที่เปลี่ยนใหม่ให้มันง่ายไปจนถึงอาคารที่ทำงานในหนังหรือแม้แต่ตึก
IBM สีดำ เอามาเป็นฉากกรมตำรวจของเรื่อง
พอหนังดังขึ้นเรื่อยๆ
บวกกับความเป็น Apple ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนวงการมือถือพอดี
มันทำให้ Trend ของ 2 อย่างนี้มันเดินเข้ามาพร้อมๆกัน
ความเรียบง่ายที่ไม่ได้หมายถึงราคาถูกก็เลยมากันเต็มไปหมดเลยในบ้านเราและทั่วโลก
คือมีทั้งที่ทำถึงและที่ไก่กาเยอะเต็มไปหมด อะไรๆที่เอาแบบง่ายๆเรียบๆเข้าไว้ก็เรียกตัวเองว่าเป็น Modern เป็น Minimal ไปหมด และถ้ามีเส้นตรงและตัดโค้งหน่อยก็จะเรียกตัวเองเพิ่มเติมว่าเป็น
Future นะ อะไรแบบนั้น
สำหรับพี่แล้ว
เรื่องของ
Trend ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ทำนายได้ไม่ยากเลย พี่ว่าหนังหรือภาพยนต์น่ล่ะ
คือสิ่งที่กำหนดอะไรหลายๆอย่างให้มันเดินไป หลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพ แต่สำหรับพี่นั้น
เด็กวัยรุ่นๆใหม่ ทุกคนจะเสพสิ่งที่เป็นความเท่ห์ความรู้สึก พี่เข้าใจครับว่า ความแตกต่างก็ยังเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่แหละ
เพียงแต่ว่าสำหรับคนโดยส่วนใหญ่ทั่วไปแล้ว หนังมันเดินทางไปสู่ความรู้สึกได้ง่ายที่สุดแล้ว
และสิ่งนี้แหละที่จะเข้ามาเสริมเป็น Sub ในส่วนต่างๆของการออกแบบ
พี่ยกตัวอย่างง่ายๆเลยครับ
อันนี้แบบว่าโดยตรงจากประสบการณ์จริงเลยละกันนะ เชื่อมั้ยว่าก่อนที่หนังที่ชื่อ GREAT
GASBY จะเข้าฉายนั้น น้องที่พี่ได้สอน ไม่มีใครรู้จักการออกแบบใน Style
ที่ชื่อว่า ART DECO เลย
ทั้งๆที่น้องบางคนนั้น อยู่ Condo The Address Chidlom ที่เค้าโฆษณานักหนาด้วยซ้ำว่า
เค้าออกแบบ Style Art Deco ที่เอาความหรูหราของฝั่งอเมริกามา
น้องอยู่ๆกันไป ก็ไม่ได้อะไร ไม่ได้ซึมซับอะไรเลย
ทั้งๆที่ตัวเค้าเองต้องการจะเป็นนักออกแบบภายในๆอนาคตด้วยซ้ำ
ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาครับ
เพียงแต่ว่าพอหนังเรื่องนี้เข้าฉายแล้วพระเอกขวัญใจของเค้านำแสดงเท่านั้นล่ะ
เข้าไปดูเรื่องนี้พอออกมาก็ทำให้น้องเค้าเดินมาบอกกับพี่เลยครับว่า
เค้าชอบรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ Art Deco เป็นอย่างมาก
พี่เองก็ตกใจเลย แบบว่า เฮ้ย! กลับกลายเป็นว่า รู้เรื่อง Art
Deco ไม่ใช่ว่าเป็นการออกแบบยังไงเท่านั้น
แต่นี่รู้ถึงวิถีการใช้ชีวิตเลย
ซึ่งพอพี่ดูหนังก็ได้คำตอบว่าตัวหนังเล่าเรื่องราวไปพร้อมกับ Design ที่มีความเป็น Art Deco อยู่อย่างเต็มเปี่ยม
ก็เลยทำให้มันซึมเข้าไปในความรู้สึกได้เลย และกลายเป็นว่า
ความสนุกของน้องๆเหล่านั้นก็เกิดขึ้นด้วยความชอบไปเลย พี่ไมได้บอกนะครับว่าอนาคตจะต้องเป็น
Art Deco เพียงแต่ว่ายกตัวอย่างมาให้เห็นภาพเท่านั้นเอง
และจากความที่สื่อในอนาคตมันถูกมาในหลายรูปแบบ
ทั้ง
Instagram ทั้ง Pinterest มันเลยทำให้การผสมเอาทุกอย่างเข้ามา
Mix and Match กันนั้นเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น สำหรับพี่แล้วความชัดเจนในแนวความคิดของการออกแบบที่เป็นแกนนั้น
ในอนาคตความเป็น Futuristic มันจะค่อยๆเลือนๆไปน่ะ แต่ว่าเป็น
Modern พี่คิดว่ายังไงมันก็ยังคงอยู่นะ เพียงแต่ว่าคราวนี้จะเป็น
Modern ที่เป็นแบบลูกผสมเข้ามาเต็มที่เลย จับเอานั่นมาผสมนี่ จนกลายรูปแบบออกมาหลากหลาย
รวมถึงการเล่นแสงด้วย เดี๋ยวอีกหน่อยก็จะมีการเรียนต่างๆนานาเช่น Modern แล้วตามด้วย
Style ที่คิดค้นมาผสมตอนนั้น เช่น Modern Deco หรือว่า Modern Nouveau ก็เป็นไปได้ สนุกขึ้นเรื่อยๆ
ถาม : พี่ๆคิดว่าสถาปนิกรุ่นใหม่ๆที่ลาดกระบังผลิตออกมามีคุณภาพอย่างไร? และต้องการให้ภาควิชา มีการปรับปรุงลักษณะบัณฑิตออกมาให้เป็นอย่างไรบ้างคะ?
ตอบ :
สำหรับน้องๆที่จบมาในปัจจุบัน
พี่ว่าทรงพลังอยู่เหมือนกันนะ คุณภาพในเรื่องของฝีมือนี่ต้องบอกเลยว่าโอเคทีเดียว
เพียงแต่เรื่องของความอดทนนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่มันดูหายไป ในความรู้สึกของพี่นะ ไม่รู้ว่าพี่แก่ไปรึเปล่า
แต่เท่าที่ดูถามว่าความอดทนในที่นี้มันไม่ได้หมายถึงอดทนในกาทำงานนะ
เพราะสำหรับพี่แล้ว
ความอึดและความทนในงานยังคงเป็นเอกลักษณ์ของลาดกระบังในความรู้สึกของพี่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปยังไงก็ตาม
เพียงแต่ว่าความอดทนในสิ่งที่มันขัดใจน่ะ มันน้อยลงทุกที
ยกตัวอย่างเช่น
ความอดทนในการเข้าใจผู้อื่น ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลเกินไป
พี่เข้าใจนะครับว่าเราเป็นนักออกแบบความมั่นใจในงานของเรานั้นเป็นสิง่ที่มันสำคัญมาก
เพราะถ้าเกิดว่าคนที่ออกแบบไม่มั่นใจในงานที่เราทำซะเอง
อันนี้มันก็อาจจะทำให้งานที่เราออกแบบมานั้นดูโหวงๆไม่ค่อยหนักแน่นน่ะ แต่การรับฟังผู้อื่นนั้น
สำหรับพี่แล้วเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าโครตสำคัญในวิชาชีพเราเลย เข้าใจว่ามีแนวทางการเดิน
การออกแบบที่ชัดเจน แต่ถ้าเกิดว่ามันไม่ตรงใจลูกค้าที่จ้างเรา ยังไงเราก็ต้องปรับเปลี่ยนมันให้ได้
ซึ่งพี่เข้าใจครับว่า แบบที่น้องหลายคนที่จบใหม่นั้น ไม่ได้ไม่ดีเลย กลับจะดีกว่าแบบที่ลูกค้าชอบและต้องการให้เปลี่ยนเสียอีก
เพียงแต่ว่าเราต้องไม่ลืมครับว่า ถ้าเกิดว่าเราบอกลูกค้าแล้ว ว่าสิ่งที่เค้าเลือกมันไม่ดีอย่างนั้น
มันไม่ดีอย่างนี้ด้วยเหตุผลที่สมควร แล้วลูกค้าเกิดดึงดันอยากจะได้ในสิ่งที่เค้าชอบ
อันนี้เราก็ต้องทำให้นะครับ เพราะว่ามันเป็นงานที่เค้าต้องการให้เกิดอย่างนั้น
เอาแบบว่าที่พี่เพิ่งเจอมาเลยดีกว่าครับ
พี่มอบหมายงานให้กับน้องที่จบใหม่คนหนึ่งทำ โดยที่เป็นงานออกแบบชิ้นเล็กๆง่ายๆครับ
เป็นห้องนอนคอนโดของดาราคนหนึ่ง ซึ่งน้องเค้าออกแบบว่าได้สวยใสมาก พี่เองก็ชอบมาก
แล้วก็ได้มีการคุยกับลูกค้า 1-2 ครั้งโดยประมาณ
และพอแบบออกมาจริงๆก็โอเคอยู่เหมือนกัน
เพียงแต่ว่าลูกคนนั้นเกิดอยู่ดีๆเปลี่ยนใจซะอย่างนั้น
เค้าบอกว่าเค้าไม่เอาในสิ่งที่เคยพูดมาละ ขอเปลี่ยนแบบละกันนะ แต่ว่าเข้าใจในแบบที่ทำมา
ก็ไม่มีอะไรจะเพิ่มเงินให้ตามมารยาท ซึ่งพี่เองก็เห็นว่าก็ไม่น่าจะมีอะไร
และจากห้องที่เป็นโทนสีขาว ก็กลายเป็นโทนสีดำไปเลย
พี่เองก็ได้ถามสาเหตุอยู่เหมือนกับว่าทำไมมันถึงได้ถูกเปลี่ยนแบบว่าหน้ามือเป็นหลังมืออะไรอย่างนี้
ไม่เคยเจอมาก่อนเหมือนกัน ลูกค้าบอกว่าตัวเค้าเองถูกที่บ้านบังคับว่า
อยากได้ห้องที่คอนโดเป็นสีขาว เนื่องจากที่บ้านนั้นถือเรื่องของสีเป็นหลัก
ต้องการให้มันเป็นอย่างนี้ ทั้งๆที่ตัวของลูกค้าเองไม่ชอบสีนั้นเลย
แต่ก็ขัดใจทางบ้านไม่ได้เนื่องจากว่าตัวคอนโดเองก็เป็นเงินจากที่บ้าน แต่ก็รู้สึกอึดอัดมาโดยตลอด
เพียงแต่ว่าก็ต้องยอมรับชะตากรรมแบบนั้น
พอกำลังจะสรุปแบบจริงๆแล้ว
ก็เลยทนไม่ไหวขอที่บ้านจริงๆ ซึ่งน่าจะตบตีกับที่บ้านมาพอสมควรกว่าที่บ้านจะยอม
ก็แน่ล่ะ ใครจะไปยอมให้ลูกตัวเองมีห้องนอนเป็นสีดำ เพราะว่าคนจีนเค้าถือน่ะ
คราวนี้พอมาถึงน้องคนนั้น
ประมาณว่าน้องที่เป็นคนออกแบบเค้าคงไม่ชอบแบบที่กำลังจะถูกเปลี่ยนเท่าไหร่
คงจะชอบแบบเดิมแล้วมีความรู้สึกว่างานของตัวเองมันน่าจะจบอยู่แล้ว
เลยเกิดอาการหงุดหงิดใส่ลูกค้าน่ะ ลักษณะการพูดจาเลยดูเหวี่ยงๆ ซึ่งจริงๆแล้ว
เราเป็นนักออกแบบ ความอดทนต้องเป็นที่ตั้งอยู่เสมอ การที่ลูกค้าเค้าเปลี่ยนแบบเรา
นั่นแสดงว่า ไม่ใช่ว่าไม่ดีพอ แต่แค่ยังไม่พอดีหรือตรงกับใจของเค้าเท่านั้นเอง
เราก็ต้องเปลี่ยน เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือ ทำยังไงก็ได้ให้คนที่เราออกแบบให้ Happy
ซึ่งความอดทนตรงนี้แหละที่พี่อยากให้น้องๆที่จบใหม่ในปัจจุบันต้องมีไว้
ความจริงแล้ว เราเองก็เป็นอาชีพที่บริการอย่างหนึ่ง ยังไงซะ ลูกค้าก็ต้องมาก่อน ส่วนเรามีหน้าที่ๆจะต้องทำยังไงก็ได้ให้พอใจที่สุด
ส่วนเรื่องของความสวยงามนั้นมันอยู่ในจิตใจครับ นี่แหละที่พี่ว่ามันเป็นสิ่งที่น่าท้าทายอยู่เหมือนกัน
ว่าเราจะทำยังไง ให้แบบที่เค้าต้องการซึ่งเงื่อนไขที่ออกมาถ้าเราทำแบบตรงไปตรบงมานั้น
มันอาจจะไม่ได้แบบที่ดีที่สุดก็ได้ แต่เราจะทำยังไงให้สวยที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ การเปลี่ยนแบบทุกครั้งให้เปลี่ยนทัศนคติว่า
เราไม่ได้กำลังทำงานเพิ่มแต่ว่าเรากำลังผลิตทางเลือกใหม่ให้กับโลกนี้มากยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งทุกครั้งที่เราคิดแบบใหม่ออกมา นั่นหมายถึงการพัฒนาทางความคิดที่เพิ่มมากขึ้นเข้าไปอีก
คิดได้แบบนี้ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเปลี่ยนแบบก็จะได้ไม่เกิดอาการเหวี่ยงขึ้น
ส่วนเรื่องที่ว่าถ้าเกิดว่าต้องการแนะนำว่าภาควิชามีอะไรต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มเติม
และพัฒนาศักยภาพในตัวของน้องๆที่กำลังจบมานั้น พี่ว่าจริงๆแล้ว อยากให้เพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนาความรู้ทางเชิงของงานช่างเข้าไปด้วย
เข้าใจว่าทางลาดกระบังนั้นมีหลักสูตรในส่วนของวิชา Construction ที่ค่อนข้างเยอะและเข้มแข็งสถาบันหนึ่งในเมืองไทยเลย
เพียงแต่ว่าพี่มีความรู้สึกว่า อยากให้มีการ Workshop งานนอกพื้นที่บ่อยๆ
ประมาณว่าได้เข้ามาร่วมพัฒนาและศึกษาขั้นตอนจริงในการก่อสร้าง ซึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มเพื่อไปติดตามขั้นตอนของ
Project ที่มีอยู่ในบ้านเรา ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก แล้วเอามา
Present ให้เพื่อนๆในห้องดูแล้วตั้งคำถามที่คิดว่าแต่ละกลุ่มน่าจะตอบไม่ได้มา
และพยายามทำให้เกิดประเภทของงานที่เราเข้าไปศึกษาให้มันหลากหลายประเภทเข้าว่า
พี่ว่ามันจะเกิดการพัฒนากว่าที่เรามานั่งเขียนแบบที่อยู่บนกระดาษส่งอาจารย์ทุกอาทิตย์เพียงอย่างเดียวครับ
แบบที่ต้องส่งอาจารย์ อาจจะให้เป็นการบ้านไปทำที่บ้านได้
แต่ส่วนที่มันอยู่ในชั่วโมงการเรียน นอกจาก Lecture ที่มีอยู่ในห้องเรียนแล้ว
น่าจะเพิ่มส่วนที่ออกนอกพื่นที่ตรงนี้ไปด้วย
พี่ว่ามันเป็นการพัฒนาจุดที่พี่คิดว่าเป็นเสน่ห์ของลาดกระบังจริงๆ
แบบว่าเราลองเอาจุดนี้มาเป็นจุดขายในวิชาชีพจริงๆ
พี่ว่ามันจะทำให้ภาพลักษณ์แข็งแกร่งขึ้นมาก เพราะพี่ว่าทุก Office ไม่ได้อยากได้สถาปนิกที่เก่งทางการออกแบบเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเกิดเป็นคนที่รู้หน้างาน
เก่งในการคุมแบบด้วย ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ให้กับวิชาชีพและสถาบันอีกเยอะเลย
ถาม : พี่ลองช่วยเล่าบรรยากาศสมัยที่เรียนลาดกระบังหน่อยได้มั้ยคะ
ว่าเรียนอย่างไร?
ใช้ชีวิตและกิจกรรมในคณะอย่างไร?
ตอบ :
เมื่อเวลาผ่านไป
ต่างยุคต่างสมัยยังไง ทุกอย่างมันก็ต้องเปลี่ยนแปลง นี่ถ้าเกิดว่านับ 3 มหาลัย Classic ของเมืองไทยที่มีความเก่าแก่ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น จุฬา, ศิลปากร
หรือว่าลาดกระบังนั้น พี่ว่าลาดกระบังในความรู้สึกของพี่เปลี่ยนแปลงที่สุดแล้ว อาจจะเป็นเพราะว่าถ้าเกิดว่าเป็นจุฬา
พื้นที่ของเค้าก็อยู่แค่นั้น ไม่น่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก ส่วนของศิลปากรยิ่งไม่เปลี่ยนเข้าไปใหญ่เลย
เพราะ Classic อยู่ที่ท่าพระจันทร์อยู่แล้ว
แต่ที่ลาดกระบังสมัยพี่เรียนต้องบอกก่อนครับว่า
มันเป็นแบบว่าสัญลักษณ์ความตื่นเต้นไปแล้วว่าใครที่จะมาเรียนที่ลาดกระบังจะต้องมีประสบการณ์การมาด้วยรถไฟไทย
ซึ่งก็เป็นความ Classic ในสมัยนั้นอยู่เหมือนกัน
รถไฟสมัยนั้นมีเอกลักษณ์อยู่ตรงที่ถ้าเกิดว่าเรามาเร็วมันจะมาข้ามาก
แต่ถ้าเกิดว่าวันไหนเรามาช้า รถไฟจะมาก่อนเวลาเสมอ
ดังนั้นเรื่องของรอบเวลาในการออกจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเด็กกลาดกระบังอยู่เสมอ
สมัยนั้นไม่มีหรอก Airport Link ที่จะส่งตรงสู่ลาดกระบังแบบสมัยนี้
กว่าจะไปได้แต่ละที
ส่วนเรื่องของการเดินทางด้วยรถเมล์
ตอนนั้นไม่ต้องห่วงเลย มีรถอยู่แค่สองสายเท่านั้นที่เดินทางไปถึงจากตัวเมือง
ซึ่งก็ได้แก่สาย ปอ18 และสาย ปอ.พ.23
ซึ่งเดี๋ยวนี้ ปอ.พ. เค้าไม่เดินรถแล้ว
เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน เพราะว่าตอนนั้นขนาดว่าเรานั่งไปตั้งแต่สยาม ตลอดสาย 25
บาทเรายังมีความรู้สึกเลยว่า ทั้งรถตลอดทางมีผู้โดยสารไม่เกิน 5
คนโดยประมาณ ซึ่งถ้าเกิดว่ารวมค่าคนขับและค่าน้ำมันด้วยแล้ว
คิดง่ายๆก็ไม่น่าจะอยู่รอดได้
พอเรื่องของการเดินทางค่อนข้างยาก
มันก็เลยทำให้สมัยนั้น เกือบทั้งรุ่นของพี่เอง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่หอพักกันทั้งนั้น
เพราะว่าการเดินทางมันไม่สะดวกเหมือนตอนนี้จริงๆ ถ้าเกิดว่าไม่ได้มีรถส่วนตัวแล้ว ยากครับที่จะอึดมาเรียนตั้งแต่เช้าได้ทุกวัน
สมัยที่เรียนนั้นรุ่นของพี่เองมีคนที่สามารถทำได้อย่างนั้นเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้นเอง
เรื่องของหอพักสมัยนั้นกับสมัยนี้ก็ต่างกันอย่างมากครับ
สมัยนั้นพี่จำได้ว่าช่วงปีหนึ่งพี่กับพี่เอก เราเช่าห้อง 2 ห้องห้องหนึ่งเปิดเป็นห้องนอนแบบจริงๆจังๆไปเลย
ส่วนอีกห้องเป็นห้องที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะเรียกมันว่าเป็น Studio ทำงานน่ะครับ จำได้ว่าเข้าไปปีหนึ่ง เชื่อมั้ยว่าทั้งปีพี่ไม่ได้ดื่มเหล้าหรือว่าเบียร์เลย
ตั้งใจเรียนจริงๆ จำได้ว่าสมัยนั้น หลายคนในรุ่นอยากพิสูจน์ด้วยล่ะว่า ความเป็นลาดกระบังไม่ได้ด้อยกว่าที่อื่นเลย
เพราะวัฒนธรรมในสมัยนั้นมันส่งผลเหมือนกันนะครับ เพราะความเป็นลาดกระบังมันอาจจะดูเป็นภาษาที่ไม่สวยงามเท่าไหร่ในหมู่ผู้ใหญ่เวลาที่ฟังว่าเรากำลังเรียนอยู่ที่ไหนน่ะครับ
แม้แต่บ้านหรือครอบครัวของพี่เอง ยังรู้สึกเลยว่ามันไม่ดีเท่ากับจุฬาเพราะว่าพี่น้องของพี่ในบ้านทั้งหมดอยู่จุฬาน่ะครับ
แล้วบ้านพี่เองก็อยู่ใกล้ที่นั่นด้วย จุฬาเลยเป็นเสมือนบ้านมาตจั้งแต่เด็ก ซึ่งทุกคนก็คิดว่ามันคือสิ่งที่ดีที่สุด
ยิ่งทำให้เราต้องพิสูจน์อะไรหลายๆอย่างเพื่อเปลี่ยนความคิดตรงนี้ในอนาคตให้ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพี่เกลียดจุฬาแต่อย่างใดนะครับ
พี่รักจุฬาครับ เพียงแต่ว่ารักลาดกระบังด้วย
จำได้ว่าสมัยที่เรียนอยู่ปีหนึ่งนั้น
ช่วงเวลาเสาร์ อาทิตย์เป็นช่วงที่เพื่อนแต่ละคนจะกลับบ้าน
แต่พี่กับพี่เอกเราไม่ค่อยจะกลับเท่าไหร่หรอก
เรามักจะนั่งพยายามเอางานที่อาจารย์สั่งมานั่งหาวิธีการทำมัน
แล้วก็ทำมันออกมาให้ได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พี่เรียนปีหนึ่งนั้น
พี่มีความรู้สึกตลอดเลยว่า ชีวิตมันอยู่กับงานอย่างเดียวเลย เรียนเสร็จเราก็กลบับมานั่งอ่านหนังสือ
ทำงาน แบบว่าสิ่งเดียวที่เราพอจะมีกิจกรรมทำคือ วิ่งหรือเตะบอลตอนเย็นเท่านั้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆนั้นไม่ได้มีเหมือนในปัจจุบัน
ถ้าเกิดว่าอยากไปนั่งร้านกาแฟ ก็ไม่ได้มีเหมือนในปัจจุบันเรื่องของการหากาแฟสดกินนั้นลืมไปได้เลย
หรือถ้าเกิดว่าจะไปศูนย์สรรพสินค้าซักที่นั้น เป็นอะไรที่ต้องตั้งใจไปอย่างมาก เพราะที่ใกล้ที่สุดใช้เวลาเดินทางเกือบชั่วโมงคือ
ซีค่อนน่ะ
ด้วยสภาพแวดล้อมอย่างนี้ทำให้ 1 ปีแรกผ่านไปไวเหมือนโกหกเลย
จำได้ว่าตอนนั้นเรามีความรู้สึกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่นานมาก ผ่านอะไรมาเยอะมาก การเรียนการสอนนั้นสมัยพี่อาจารย์เค้าค้างกันอยู่ที่สถาบันด้วย
แบบว่าเรียนเสร็จแล้วกลับไปอาบน้ำที่หอพักจากนั้นก็กลับมาที่สถาบันใหม่ แล้วอาจารย์ก็มานั่งสอนวิธีการ
Sketch ภาพกันตอนกลางคืน พอฝึกกันจนถึงเที่ยงคืนก็กลับไปนอนที่หอ เพื่อเก็บแรงตื่นมาเรียนต่อ
พี่ทำอย่างนี้
1 ปีเต็ม แล้วพอปิดเทอมใหญ่กำลังจะขึ้นปี 2 ได้มีโอกาสออกไปเปิดหูเปิดตาเข้ามาในเมือง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่รับน้อง
แล้วต้องเข้าไปขอความร่วมมือกับอาจารย์ในแต่ละมหาลัยเพื่อร่วมกิจกรรมบางอย่าง
คราวนี้พี่ก็ได้โอกาส On Tour ไปแต่ละที่
พอเข้าไปเห็นงานของที่อื่นในสมัยนั้น เรารู้ทันทีว่า
ที่เรามีความรู้สึกว่าทำไมเรายังไม่เก่งซักที จากคำอาจารย์ที่ลาดกระบัง กลายเป็นว่าฝีมือเราไปไกลกว่างานที่เค้าจัดแสดงในหลายที่มาก
เราไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เราทำกันมาตลอด 1 ปีนั้น เรียกว่าอะไร
แต่มันได้ผลกลับมาอย่างไม่น่าเชื่อ
และเป็นกำลังใจทำให้เรายิ่งเดินหน้าชยันหนักขึ้นเข้าไปอีก
พี่ว่าความขยัน
ความอยากพิสูจน์ตัวเองในสมัยนั้นมันทำใหเ้เกิดความอึดในการทำงาน เกิดสิ่งที่เรียกว่าต้องดีกว่านี้
แค่นี้มันดีแล้วแต่ว่ามันยังดีไม่พอ มันก้องอยู่ในหัวพี่และเพื่อนๆมาโดยตลอด ซึ่งเท่าที่พี่รู้สึกนะว่ามันต่างจากน้องสมัยนี้เป็นอย่างมากที่พอติดลาดกระบังแล้ว
มีความรู้สึกว่าตัวเองเก่งแล้ว แบบว่าพราวแล้ว พี่ว่าถ้าเกิดว่าเราเกิดความรู้สึกอย่างนั้นเมื่อไหร่
หายนะเกิดขึ้นทันทีครับ
พี่ใช้ชีวิตอยู่กับการเรียนและการทำงานมาโดยตลอดครับ
สมัยนั้นการที่เราจะเลี้ยงหรือหาร้านเหล้ากินซักร้านเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากมาก
และต้องใช้เงินเยอะ เพื่อนพี่หลายคนเป็นลูกคนมีฐานะครับ
เพียงแต่ว่าพ่อแม่เราไม่ได้เป หรือว่ายอมให้เราใช้จ่ายอะไรได้ขนาดนั้น เงินหลายๆอย่างมันเลยต้องเก็บไว้เรียนเก็บไว้เพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียนน่ะครับ
เมื่ออาทิตย์ก่อนนี้พี่ได้มีโอกาสเข้าไปเยือนที่ลาดกระบัง
พอดีต้องไปส่งรุ่นน้องคนหนึ่ง ซึ่งต้องขับรถเข้าไปที่ซอยเกกี สมัยที่พี่อยู่นั้น ซอยจะสิ้นสุดอยู่แค่วัดตรงสะพานเท่านั้น
เลยไปมากกว่านั้นเป็นป่าล้วนๆเลย จำได้ว่าสะพานที่จะข้ามไปวัดนั้น ช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงที่พีคมาก
ใครกล้าเข้าไปถือว่าใจเด็ดมากๆ ตอนนี้เข้าไปแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด มันกลายเป็นเมืองๆหนึ่งเลยทีเดียว
โดยส่วนตัวแล้วพี่เห็นอยู่แล้วว่ามันมีหอพักที่เรียกกันว่าโซน RNP ข้ึนอยู่เต็มไปหมด
อันนี้พอจะเข้าใจได้ เพียงแต่ว่ารอบข้างทางก่อนที่จะเดินเข้าไปสู่ตัวหอพักนั้น เรียงรายเต็มไปด้วยร้านข้าวและร้านเครื่องดื่มเต็มไปหมดเลย
แล้วก็มีน้องๆเรียกได้ว่าแทบจะเป็นชุมชนเมืองๆหนึ่งเลย แอบตกใจเล็กน้อยครับว่าสิ่งล่อตาล่อใจเยอะมาก
ไม่เหมือนสมัยพี่ที่มีแต่ 7-11 เท่านั้น ตกกลางคืนก็ทำงาน อ่านหนังสือกัน
จะมีสังสรรค์กันบ้างก็คงเป็นครั้งคราว ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่เรียกได้ว่าแทบจะเรียงรายกันเต็มสองข้างทางก่อนกลับเลย
และนี่น่าจะเป็นความแตกต่างแบบสุดๆระหว่างน้องๆสมัยนี้กับสมัยของพี่
ส่วนเรื่องกิจกรรมนั้น
ก็น่าจะคล้ายๆกันครับ พี่เองช่วงเวลาที่เรียนอยู่ปีต้นๆนั้น
วันๆก็เรียนมันอย่างเดียว เงยหน้าอีกทีก็ค่ำแล้ว ไม่ได้มีเวลาคิดที่จะไปไหนเลย
ช่วงเวลาที่ปิดเทอม กิจกรรมที่เราต่างเน้นที่จะทำกันคือ เป็นพวกงานตัด Model
ข้างนอกที่เค้าให้มาทำซะมากกว่า ช่วงนั้นจำได้ว่างานเยอะมา
เป็นช่วงที่อสังหาริมทรัพย์เมืองไทยบูม
เนื่องจากรัฐบาลปรับค่าธรรมเนีบยในการโอนที่ดินลดลงแบบสุดๆ
ทำให้เกิดโครงการต่างๆขึ้นเยอะเลย เราเหล่านักศึกษาเลยได้ผลพลอยได้จากตรงนี้ไปด้วย
จริงๆแล้วที่เราได้ส่วนนี้นั้นต้องขอบคุณรุ่นพี่ๆของลาดกระบังที่สร้างหลายอย่างมาดีมากเหมือนกันครับ
เรียกได้ว่าปูทางการตัด Model ที่ขึ้นชื่อมากในเรื่องของความเนี๊ยบและความถึง
และราคามิตรภาพเป็นกันเอง
ซึ่งมันเลยไปตรงใจกับงานที่บริษัทหลายที่ทำไม่ทันและต้องจ้างงานจากเด็กๆพอดี
ถามว่างานตอนนั้นเราแพ้พวกมืออาชีพที่ทำกันอยู่ในท้องตลาดมั้ย
พี่ว่าถ้าเกิดว่าเราจะแพ้เราน่าจะแพ้บริษัทที่เค้าทำ Model จากเลเซอร์เท่านั้น
แต่ถ้าเกิดว่าเป็นความทุ่มเททางการตัด Model ด้วยมือแล้วล่ะก็
พี่ว่าลาดกระบังในยุคนั้นน่าจับตามองทีเดียว ช่วงเวลานั้นทำให้พี่รู้เลยครับว่า
สังคมหรือเพื่อนๆที่เข้าไปเรียนกับเรานั้นมีผลต่อทั้งการเรียนและอาชีพการงานเป็นอย่างมากในอนาคต
การที่เรามาอยู่รวมกันโดยที่แต่ละคนนั้นเป็นคนที่ต้องการความเก่ง
ทำงานเพื่อแข่งขันกัน แต่ว่าไม่ได้มีความแก่งแย่งกันนะ ก็สนุกในการที่จะเรียนเพื่อที่จะเน้นว่าใครที่มีแรงมากกว่ากัน
พี่จำได้เลยครับว่าช่วงที่พี่เข้าไปนั้น แต่ปีที่ลาดกระบังเปลี่ยนเงื่อนไขค่าน้ำหนักในการรับอยู่สถาบันเดียวเลย
โดยที่เน้นเอาส่วนของวิชาความถนัดทางสถาปัตยกรรม ถึงร้อยละ 40 ในขณะที่มหาลัยอื่นเอาเพียงแค่ร้อยละ
30 เท่านั้น เพื่อนๆในรุ่นก็เลยเป็นคนที่ไม่ได้เก่งทางวิชาการมากนัก
แต่ในเรื่องของสถาปัตย์ ได้มาแบบเต็มๆทั้งนั้นเลย
การเรียนในช่วงแรกนั้นเรียกได้ว่าแข่งกันเรียนซึ่งมันสนุกมาก
จำได้ว่าต้องมีวิชา Deline ทุกวันพุธซึ่งอาจารย์เค้าจะให้วาดใส่ในกระดาษขนาด
A3 แต่ว่าพวกเพื่อนๆแต่ละคนพยายามวาดใส่กระดาษ A2 ความจริงแล้วมันผิดโจทย์ที่อาจารย์เค้าให้มากันนะ
แต่ว่าด้วยความที่อยากเขียนให้ใหญ่กว่าที่อาจารย์สั่ง ประมาณว่าพลังข้าเหลือ
ถ้าพี่เป็นอาจารย์พี่คงไม่ไปทำอะไรหรอก
เพราะว่าอยากเพิ่มงานให้กับตัวเองกันทั้งนั้น
ความสนุกแบบนี้
การแข่งกันแบบนี้มันส่งผลสู่ทักษะทาง Model เหมือนกัน เพราะว่าแต่ละคนก็มาแข่งกันว่า
ใครจะสามารถทำ Model ออกมาได้สวยและละเอียดกว่ากัน
เรื่องของคะแนนน่ะเหรอ เป็นเรื่องรองจริงๆ ความชอบและความสะใจส่วนตัวมาก่อนเสมอ
เพราะทำละเอียดมากหรือน้อยคะแนนที่ได้ก็ออกมา A เท่ากันนั่นแหละ
ถ้าเกิดว่างานที่ออกมาคิดมาดี
แต่มันเท่านั้นไม่ได้ไง มันไม่พอต่อความต้องการ อย่างเช่นทำ Model บ้านหนึ่งชั้นริมคลอง ก็ต้องทำแม่น้ำให้ออกมาสวยที่สุด โดยที่ไปนั่งเก็บรายละเอียดในส่วนของผืนหญ้า
เก็บรายละเอียดของส่วนที่เป็นก้อนหินเอาแบบว่าให้ละเมียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
พอทำมากๆเข้า
ทุกอย่างที่กันมามันเลยกลายมาเป็นมาตรฐานอย่างที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน
มันซึมซับเข้าไปแล้ว
ประมาณว่าถ้าเกิดว่าทำงานไม่ละเอียดมันจะเหมือนกับว่าตะขิดตะขวงใจอะไรบางอย่าง
และสิ่งเหล่านั้นเองมันกลายเป็นว่าเวลาที่เราทำงานให้กับงานจริงๆ ลูกค้าชอบเลย
เพราะเค้าได้ในสิ่งที่มันแตกต่างจากทั่วไป
กลายเป็นว่าสิ่งที่เราทำๆกันนั้นมันไปเข้าตาในตลาดงานซะนั่น
บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่มันกำลังขึ้นมาอย่างเต็มที่
ทำให้มีงานตลอดทั้งในช่วงที่ปิดเทอมและช่วงเปิดเทอม
ตอนนั้นสำหรับกลุ่มที่เรียนด้วยกันนั้น เราไม่ได้มองและทำเพื่อเงินกันเลย
เน้นความสวยงามและทำงานอย่างเต็มที่เท่านั้นเอง
ส่วนเรื่องกิจกรรมในคณะที่เค้ามีกันทั่วไปนั้น
พี่เองยอมรับเลยครับว่าไม่ค่อยได้เข้าร่วมเท่าไหร่
ไม่ค่อยได้ช่วยงานเรื่องของสโมสรหรือว่าเชียร์อะไร
เพราะว่าเวลาส่วนใหญ่ตอนนั้นก็ไปเน้นกับการทำงานข้างนอกแบบเต็มที่เลย
เอาจริงๆก็เลยไม่ค่อยได้รู้จักเพื่อนๆหรือว่ารุ่นพี่ที่เค้าทำสโมกันเท่าไหร่
แต่ก็นั่นล่ะครับ ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างน่ะ
เราเองเราก็ขาดประสบการณ์ตรงนั้นไปเหมือนกัน
แต่ที่มาได้ทำงานเพื่อคณะจริงๆก็ตอนปี3 ที่ตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นประเพณีเลยก็ว่าได้
ว่าต้องเป็นปี 3 ที่เข้ามาจับงานหนึ่งของภาควิชาสถาปัตย์คือ “งานไม้สด” เป็นงานที่รวมเอาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมาร่วมนั่งคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตกันน่ะครับ
ความจริงแล้ว
ยอมรับเลยครับว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยได้มีจิตอาษาเท่าไหร่เหมือนเพื่อนๆเค้าที่ทำกิจกรรมเพื่อคณะแทบจะทุกลมหายใจ
อาจจะเป็นเพราะว่าพี่เป็นคนที่ทำงานพิเศษจนเคยชินมาตั้งแต่สมัยเรียน
เราเลยมีความรู้สึกว่า
ไม่ควรเข้าไปยุ่งตรงนั้นเพราะว่าถ้าเกิดว่าเข้าไปทำแล้วเราไม่ได้ทำจริงจังหรือทำไม่ได้เต็มที่อาจจะทำให้ไม่ดีเป็นตัวถ่วงคนอื่นก็ได้
แต่ว่างานนี้มันบังเอิญเพราะว่าวันนั้นพี่จำได้ว่าพี่ไปทำงานนอกเลยไม่อยู่ที่คณะ
ช่วงเวลานั้นที่มีการประชุมกันเพื่อนเลย Vote กันทั้งห้องว่าพี่น่าจะสมควรรับผิดชอบในส่วนของการเป็นตัวตั้งตัวตีในการหาเงินเพื่อมาใช้จ่ายในงาน
นั่นล่ะถึงเป็นงานแรกอย่างเป็นชิ้นเป็นอันที่พี่ทำให้กับคณะจริงๆครับ
จำได้ว่าพอเริ่มต้นความจริงไม่ได้อยากรับงานนี้ แต่อีกความคิดหนึ่งก็คิดว่า
ถึงเวลาละล่ะที่ต้องทำเพื่อสถาบันของเราบ้าง ก็รับทำ ซึ่งเรียกได้ว่าทำจริงจังเลย
ตอนนั้นเหนื่อยมาก เพราะว่าเรียนเสร็จต้องออกไปทำงานนอก
จากนั้นต้องวางแผนว่าจะเข้าไปหารุ่นพี่ที่บริษัทเพื่อไปคุยเรื่องการทำงานยังไง
ช่วงเวลานั้นล่ะครับเป็นช่วงเวลาที่พี่ได้มีโอกาสเข้าไปรู้จักกับรุ่นพี่หลายคน
ทำให้มิติในชีวิตเราเกิดขึ้นอีกเยอะเลย เรียกได้ว่า
ตั้งเป้าไว้เลยว่าต้องหาเงินให้เพื่อนเท่าไหร่
เพื่อที่จะให้เกิดกิจกรรมและงานที่ดีได้ พี่ก็เต็มที่ในส่วนที่พี่เต็มที่ได้ครับ
พองานผ่านไปด้วยดี
ก็มีโอกาสได้รับรางวัลเป็นนักเรียนดีเด่นในเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
แต่ว่าเราว่าคุณค่าทุกอย่างมันไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น
มันอยู่ที่ตรงประสบการณ์และโอกาสต่างๆมากกว่า
พอหลังจากงานนี้เลยได้สานต่องานที่ยักษ์ขึ้นไปกว่าเก่า
คราวนี้ไม่ใช่งานภาควิชาแล้ว แต่ว่าเป็นงานของทั้งคณะเลย คือ “งานสวนรวงผึ้ง”
เป็นงานคืนสู่เหย้าของทั้งคณะทุกภาควิชาเลย ตอนนั้นช่วงเย็นก็ต้องออกรถไปที่บริษัท
A7 ของรุ่นพี่เพื่อที่จะเข้าประชุมกันว่าจะเอา Theme งานยังไง จัดงานยังไง ได้ประชุมและได้รับทัศนคติจากผู้ใหญ่หลายคน ยิ่งทำให้พี่มีความรู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้ทำอะไรตรงนี้และได้มาอยู่ที่ลาดกระบัง
จนถึงปัจจุบันนี้
พี่ว่าพี่ค่อนข้างโชคดีมากๆที่ได้เรียนอยู่ที่ลาดกระบัง
ลาดกระบังสอนให้พี่เป็นคนที่ถ่อมตน เชื่อมั้ยว่าทุกครั้งที่กลับไปที่คณะ
เสียงหนึ่งที่ยังดังก้องอยู่ในหัวของพี่เลยคือ เราอยู่ที่นี่ เราเป็นเหมือนควาย
เราคือควายในลาดกระบัง เราไม่ฉลาด เราไม่เก่ง แต่เรามีความขยัน ความอดทน
ความมุ่งมั่นที่จะต้องเก่งมากกว่าวันนี้ที่เป็นให้ได้ทุกวัน ความคิดตรงนี้ทำให้เราเดินมาได้อย่างสนุกขึ้นเรื่อยๆ
และพี่เองก็อยากให้น้องๆที่กำลังเรียนอยู่ยังคง DNA ของความขยันและอดทนนี้ไว้ จะคำนี้จะเป็นเหมือนไฟฉายที่ส่องทางไปสู่สิ่งที่ดีในอนาคตแน่นอนครับ
รุ่นพี่ลาดกระบังแสนใจดีที่สละเวลามาเล่าเรื่องราวดีๆและแปลกเปลี่ยนความคิด ให้ความรู้แก่รุ่นน้องมากค่ะ
น.ส.หทัยรินทร์ อธิภูวเวโรจน์
54020083